วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

No6

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดี ที่ 15 เดือนกันยายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
      1.อาจารย์สาธิตการสอนคำคล้องจองเด็กปฐมวัย เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจวิธีการสอนเด็กมากขึ้นก่อนออกมาทดลองสอนหน้าห้อง


            2.การทดลองสอนของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม

                                  



         3.การทบทวนเพลงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว



         4.การเล่นเกมบ่งบอกถึงจิตใจและความรู้สึกการเล่นรถไฟเหาะ  รถไฟเหาะแห่งชีวิต  อาจารย์ให้นักศึกษารถไฟเหาะตามจิตนาการ เป็นเกมที่เกี่ยวข้องกับ "จิตวิทยา"
         5.การเรียนการสอนเรื่อง "แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย"

          การจัดการทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
         •เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้
ภาษาของเด็ก
         •นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
•สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
•ช่างสงสัย ช่างซักถาม
•มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
•ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
•เลียนแบบคนรอบข้าง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1.การนำเทคนิคการสอนเด็กปฐมวัยไปปรับใช้ในวิชาชีพครูได้
  2.การนำความรู้มาพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่มีประสิทธิภาพ
  3.การเข้าใจภาษาธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการสอนและการจัดการศึกษา เพื่อ
 ที่จะจัดการเรียนการสอนให้เกิดผลบรรลุวัตถุประสงค์ เมื่อเราเข้าใจภาษาธรรมชาติของเด็กจะให้เราได้รู้
 จักการเรียนรู้ของเด็ก
การประเมิน
ประเมินตนเอง
           -แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
           -ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหา
           -มีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้ดี
     
    ประเมินเพื่อน
           -แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนสาย 1 คน
           -มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้ดี
    ประเมินผู้สอน
           -อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา
           -อาจารย์  เทคนิคการสอนดี


วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

No.5

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพฤหัสบดี ที่ 8 เดือนกันยายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
         1.การพูดคุยสนทนาผ่อนคลายแลกเปลี่ยนความคิด การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
         2.การร้องเพลงเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปสอนเด็กอนุบาล โดยมีเนื้อหาเพลง ดังนี้


        3.การเล่นเกมเกี่ยวกับจิตวิทยามีชื่อเกมว่า "การจินตนาการไร่สตอเบอรี่"
                       ให้นักศึกษาแต่ละคนจินตนาการว่าเมื่อเราอยู่ในป่ายุโรป มองไปไกลๆจะเห็นสวนสตอเบอรี่ที่ออกผลดก น่าทาน จากนั้นเมื่อเราเดินเข้าไปใกล้ๆสวนเห็นรั้วกั้นอยู่ อาจารย์ถามว่า "รั้วของนักศึกษาในจิตนาการเป็นอย่างไร" ต่างคนต่างหลายคำตอบ จากนั้นเมืองเราปีนรั้วเข้าไปในไร่สตอเบอรี่อาจารย์ถามนักศึกษาว่า"นักศึกษาจะกินสตอเบอรี่ไหม จะกินเยอะไหม" ต่างคนต่างหลายคำตอบเช่นกัน การเล่นเกมนี้เป็นจิตวิทยาเกี่ยวกับจินตนาการของแต่ละคน ซึ่งสามารถบอกถึงนิสัย ใจคอ อารมณ์ และความรู้สึกได้  นักศึกษาเกิดความเพลิดเพลินในการเล่นเกม

         4.กิจกรรมการเขียนคำคล้องจองของหน่วยที่ได้รับมอบหมาย โดยอาจารย์จะอธิบายก่อนว่า การเขียนคำคล้องจองเพื่อสอนเด็กปฐมวัยให้เกิดการเรียนรู้ประกอบด้วยอะไรบ้าง มีดังนี้ 
                       -หัวข้อ
                       -ชื่อผู้แต่ง
                       -เนื้อหา

      กลุ่มดิฉันได้หน่วย "โลมา"


            ก่อนเราจะเขียนคำคล้องจองเราจะมีการวางแผนงานและหาข้อมูลในการเขียนก่อน หน่วยโลมา เช่น

1.ลักษณะของโลมา
2.ประเภทชนิดของโลมา
3.ส่วนประกอบของโลมา
4.ที่อยู่ของโลมา
5.อาหารของโลมา
6.ขนาดของโลมา     เป็นต้น
        
          จากนั้นเมื่อเราหาข้อมูลเสร็จแล้วเราจึงนำข้อมูลที่เกี่ยวกับโลมา มาแต่งเป็นคำคล้องจองได้ ดังนี้

ฉันคือ  โลมา
ล่องลาอยในธารากว้างใหญ่
มีทั้งปากแหลม จมูกขวด ว่ายน้ำรวดเร็วไว
อิระวดีสีสดใส แหวกว่ายอยู่ในทะเล
ลำตัวของฉันมีคลีบ มีหาง
ตัวกลมๆ มีสีสรรสวยงามตา

     5.การนำเสนอการเขียนคำคล้องจองของแต่ละกลุ่ม



            6.อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนคำคล้องจอง 


        
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

    1.การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ทำให้เราได้ฝึกทักษะทางสังคม สามารถนำไปใช้กับเพื่อนร่วมงานและการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดมิตร
    2.การฝึกสมาธิที่ได้เล่นเกม ก่อนการเรียนเมื่อเราได้ได้ฝึกสมาธิก่อนเข้าเรียนจะทำให้มีความพร้อมที่จะเรียนไม่มากก็น้อย สามารถไปปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้
    3.การเรียนรู้วิธีทำงานเป็นกลุ่ม สามารถนำวิธีการทำงานเป็นกลุ่มเช่นการวางแผนงานหรือการทำงานเป็นระบบ  สามารถไปปรับใช้ในการทำงานได้ เพื่องานจะได้ประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์
    4.การเขียนคำคล้องจอง สามารถนำไปหลักวิธีการ ไปปรับใช้ในวิชาชีพครูในอนาคตได้ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากที่สุด
    5.การคัดลายมือ ลายมือเป็นส่วนสำคัญของการเป็นครูอนุบาล การฝึกการเขียนในวิชาบ่อยทำให้เราเกิดความเคยชินและเป็นการฝึกตนเองให้เขียนสวยได้

การประเมิน

ประเมินตนเอง
    -เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย
    -ตั้งใจเรียน  บันทึกเนื้อหาได้อย่างละเอียด  ครบถ้วน
ประเมินเพื่อน
    -เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา   สุภาพอ่อนน้อม
    -มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน  เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
    -อาจารย์มีเนื้อหาในการสอนที่เข้าง่าย  สนุกสนาน  เพลิดเพลิน
    -อาจารย์แต่งกาย เข้าสอนตรงเวลาเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา


นางสาวหทัยทิพย์  อธิษฐานรัตน์  ผู้บันทึก

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

No.4

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 
วันพฤหัสบดี ที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
          
          1.อาจารย์อธิบายรายระเอียดในการทำblogger เพื่อเพิ่มเติมรูปภาพ การลิ้งค์เนื้อหาวิชาการต่างๆ
          2.การทบทวนเพลงที่อาจารย์ได้สอนเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ฝึกร้อง ฝึกจำเนื้อเพลงให้คล่อง และร้องได้ถูกจังหวะ



          3.การสนทนาเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับชีวิตประจำวันและเนื้อหาก่อนเข้าบทเรียนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
        
          4.การเรียนการสอนเนื้อหาในเรื่อง"แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย"
เนื้อหาเพิ่มเติม
      แนวคิดทฤษฎีของสกินเนอร์
         -สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
         -ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
     แนวคิดทฤษฎีของJonh B watson
         -ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
         -การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถที่จะวาง    เงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

          5.การชมวิดีโอที่มีเนื้อหาสอดแทรกการสะท้อนของสังคมไทย



          6.การผ่อนคลายระหว่างเรียนโดยอาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาออกมาอ่านข้อความที่อาจารย์ได้เตรียมมาให้


          7.กิจกรรมวาดภาพโดยมีหัวข้อ"สิ่งที่เด็กๆรัก" พร้อมกับได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนคำอธิบายภาพให้เด็ก


          8.กิจกรรมคัดลายมือหัวกลมตัวเหลี่ยมโดยเขียนประวัติส่วนตัวของตนเองพอสังเขป



การนำไปประยุกต์ใช้
   1.สามารถนำเนื้อหาในการเรียนการสอนไปปรับใช้ในวิชาชีพครูได้
   2.การฝึกประสบการณ์ในการสอนเด็กอนุบาล
   3.การนำเทคนิควิธีการในการศึกษาเด็กปฐมวัยไปใช้ในการฝึกสอนได้
   4.ได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของนักทฤษฎีไปปรับใช้ในเด็กได้
   5.ได้รับการฝึกคัดลายมือให้สวยงานเพื่อไปใช้ในวิชาชีพครูและชีวิตประจำวัน
   6.การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน และอาจารย์

การประเมิน
ประเมินตนเอง
           -แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
           -ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหา
           -มีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้ดี
     
    ประเมินเพื่อน
           -แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนสาย 1 คน
           -มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้ดี
 
    ประเมินผู้สอน
           -อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา
           -อาจารย์  เทคนิคการสอนดี